แก้ปัญหาสายตาสั้นด้วยแว่นสายตาเด็ก
การที่เด็กๆใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น และใช้เวลาอยู่กับหน้าจอนานกว่าการวิ่งเล่นนอกบ้าน ส่งผลให้เกิดภาวะสายตาสั้นในเด็กเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งภายในปี 2563 พบว่ามีจำนวนเด็กมากกว่า 1 ใน 3 ที่มีภาวะสายตาสั้น ซึ่งมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายในเวลาเพียงสองทศวรรษเท่านั้น
ผู้เชี่ยวชาญของ Rodenstock ได้พัฒนาเลนส์ Rodenstock MyCon ซึ่งออกแบบมาเพื่อช่วยสร้างการมองเห็นที่คมชัดและช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของค่าสายตาสั้นในเด็ก*

35 - 60 เปอร์เซ็นต์
เด็กที่มีผู้ปกครองที่มีภาวะสายตาสั้น จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะสายตาสั้นสูงถึง 35 - 60%
มากกว่า 2 ไดออปเตอร์
เด็กที่มีผู้ปกครองที่มีภาวะสายตาสั้น มีแนวโน้มที่จะมีค่าสายตาสั้นเพิ่มขึ้นไวกว่า โดยค่าเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 ไดออปเตอร์ภายในระยะเวลา 5 ปี
สุขภาพดวงตาที่ดีในระยะยาว
การแก้ไขสายตาสั้นในวัยเด็กจะทำให้ดวงตามีสุขภาพดีขึ้นในระยะยาว ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคตาเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่
จุดเด่นของแว่นตาสำหรับเด็กที่ใช้เลนส์ Rodenstock
เด็กๆ มักมองว่าแว่นตามีข้อจำกัด แต่เลนส์ Rodenstock MyCon™ มี Index ให้เลือกหลากหลาย เพื่อให้เข้ากับความต้องการของเด็กแต่ละคนได้อย่างเหมาะสม ที่สำคัญ คือเลนส์มีความบางและน้ำหนักเบากว่าเลนส์สายตาสั้นทั่วไปในตลาดอีกด้วย
- เลนส์พลาสติกป้องการกระแทกเลนส์พลาสติกป้องกันการกระแทกมีความปลอดภัยสูง เหมาะสำหรับวัยเด็กที่ต้องทำกิจกรรมต่างๆอยู่เสมอ
- เบาและบางเป็นพิเศษแม้ว่าจะมีค่าสายตาสูง เลนส์จาก Rodenstock ก็ยังคงบางและน้ำหนักเบา สวมใส่สบายอยู่เสมอ
- วิสัยทัศน์ที่ดีเลนส์ MyCon™ ช่วยปรับปรุงการมองเห็นของเด็กที่มีภาวะสายตาสั้นเล็กน้อยจนถึงขั้นรุนแรงให้ดีขึ้นได้
- การรักษาเบื้องต้นเลนส์ควบคุมสายตาสั้นในเด็ก ถือเป็นวิธีการรักษาสายตาสั้นที่ง่ายที่สุด และช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของค่าสายตาสั้นได้
เบื้องหลังเลนส์ MyCon™ คืออะไร?
สายตาสั้นเกิดจากความยาวของลูกตาที่ยาวมากกว่าปกติ โดยการใช้เลนส์ชั้นเดียวทั่วไป (Conventional single vision lenses) สามารถแก้ไขสายตาสั้นให้มองเห็นปกติได้ แต่ตัวเลนส์จะยังไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อชะลอการพัฒนาของสายตาสั้น ตรงกันข้าม! เมื่อแก้ไขด้วยเลนส์เหล่านี้ แสงที่มาจากบริเวณขอบของเลนส์ (periphery) จะไปโฟกัสอยู่หลังจอประสาทตา ซึ่งอาจทำให้ดวงตาของเด็กยาวขึ้นอย่างผิดปกติ และส่งผลให้สายตาสั้นมากขึ้นได้
เลนส์ Rodenstock MyCon™ มาพร้อมกับเทคโนโลยี** HAPD™ ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วในท้องตลาด เทคโนโลยีนี้ช่วยหักเหแสงบริเวณขอบ ให้โฟกัสในตำแหน่ง "หน้า" จอประสาทตา แทนที่จะอยู่ "หลัง" จอประสาทตา ซึ่งสามารถช่วยชะลอการยืดยาวของลูกตาได้ โดยพื้นที่ที่ทำหน้าที่ควบคุมการพัฒนาสายตาสั้นในเลนส์ MyCon™ จะถูกจัดเรียงในตำแหน่งบริเวณด้านข้างของเลนส์ ทำให้มั่นใจได้ว่าการมองเห็นคมชัดไม่ใช่แค่ตรงกลางเลนส์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงบริเวณด้านบนและด้านล่างด้วย**

-
เพื่อให้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ เลนส์ MyCon™ ของ Rodenstock จึงใช้เทคโนโลยี HAPD (Horizontal Asymmetrical Peripheral Defocus**) ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วในตลาด ซึ่งแตกต่างจากเลนส์ชั้นเดียวทั่วไป เทคโนโลยีนี้ให้ประโยชน์สองประการในเลนส์เดียว คือ ช่วยให้มองเห็นได้อย่างคมชัด สบายตา** และในขณะเดียวกันก็สามารถควบคุมการพัฒนาของสายตาสั้นได้ด้วย
เพื่อบรรลุผลดังกล่าว เลนส์จะมี “บริเวณโฟกัส” ที่มีค่าสายตาตามที่เด็กต้องการ พร้อมกับ “บริเวณควบคุมการพัฒนาสายตาสั้น” ที่ออกแบบแบบอสมมาตรในบริเวณด้านข้าง(แนวนอน)ของเลนส์ (horizontal periphery) โดยมีการเชื่อมต่อกันอย่างนุ่มนวล**
จะทราบได้อย่างไรว่าบุตรหลานของคุณควรใส่แว่นตา
-
โดยทั่วไปแล้ว ผู้เชี่ยวชาญด้านสายตาและจักษุแพทย์จะแนะนำให้เข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ
-
หากสงสัยว่าบุตรหลานของคุณควรต้องใส่แว่นสายตาหรือไม่ ให้ลองสังเกตดูสัญญาณอันตรายต่อไปนี้:
• กระจกตาขุ่น
• ตาเข
• กะพริบตา/ขยี้ตาบ่อย
• ดวงตาไวต่อแสงเป็นพิเศษ
• ตาหยีอย่างเห็นได้ชัด
• คว้าจับสิ่งของด้วยท่าทางไม่มั่นใจ
• กะระยะห่างจากสิ่งกีดขวางไม่ถูก
• มีอาการปวดหัว เหนื่อยล้า ไม่มีสมาธิ -
ความบกพร่องทางสายตาหลายอาการถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรม แต่สามารถแก้ไขได้หากตรวจพบทันเวลา หากผู้ปกครองหรือพี่น้องมีโรคทางสายตา กุมารแพทย์ควรส่งตัวเด็กไปพบจักษุแพทย์เฉพาะทางเมื่อมีอายุระหว่าง 6 ถึง 12 เดือน
*จากผลการศึกษาทดลองกว่า 5 ปี พบว่าเลนส์ Rodenstock MyCon™ ช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของสภาวะค่าสายตาสั้นได้สูงถึง 40% ในกลุ่มเด็กคอเคเซียนที่มีอายุตั้งแต่ 7 ถึง 14 ปี
**Rodenstock. Rodenstock MyCon White Paper Compendium. 2025. (https://www.rodenstock-pro.com/com/mycon-whitepaper)
และคุณจะได้รับอีเมลยืนยันข้อมูลที่ส่งให้กับศูนย์แว่นตาดังกล่าวในเร็วๆ นี้ จากนั้นทางศูนย์แว่นตาจะทำการติดต่อเพื่อนัดหมายกับคุณโดยตรง
กลับไปที่หน้าหลักโปรดลองใหม่อีกครั้ง