การมองเห็นสีผิดปกติมักเกิดร่วมกับภาวะสายตาบกพร่องหลายกรณี และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
การมองเห็นสีผิดปกติหรือภาวะตาบอดสี ทั้งสองคำมักจะใช้สลับกัน แต่ภาวะสายตาผิดปกติทั้งสองอย่างนี้มีความแตกต่างกัน โดยคำว่า "ตาบอดจางสีแดง" หรือ "ตาบอดจางสีเขียว" หมายถึงภาวะบกพร่องในการรับรู้สีแดงหรือสีเขียว หมายความว่าจะเห็นสีดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อมีความเข้มและสีจัดเป็นพิเศษ
ส่วนอาการตาบอดสีต่างๆ จะเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า anopia ผู้ที่มีอาการตาบอดสีแดงหรือตาบอดสีเขียวจะไม่มีส่วนรับรู้สีแดงและเขียวบนจอประสาทตา และจะมองเห็นทั้งสองสีเป็นสีเทาอ่อน แม้ว่าปัจจุบันจะยังไม่สามารถรักษาภาวะการมองเห็นสีผิดปกติหรือภาวะตาบอดสีได้ แต่การใช้เลนส์ปรับสีจะช่วยลดความถี่ในการเกิดภาวะไวแสงของดวงตาลงได้
หากจะกล่าวแบบง่ายๆ จอประสาทตาก็คือพื้นที่รับภาพที่มีการแสดงภาพสิ่งต่างๆ รอบตัวเรา โดยจะมีการส่งสัญญาณการกระตุ้นด้วยแสงไปยังสมอง
ในการทดสอบจอประสาทตา จะใช้การทดสอบการมองเห็นแบบ Amsler ซึ่ง Amsler grid จะสามารถตรวจสอบความผิดปกติที่ส่งผลต่อศูนย์กลางของจอประสาทตาได้ ภาวะจุดกลางรับภาพเสื่อมจะส่งผลให้เกิดการสูญเสียความชัดเจนในการมองเห็นบริเวณกึ่งกลางของดวงตาไปทั้งหมดหรือบางส่วน แต่การมองเห็นบริเวณโดยรอบจะยังคงเป็นปกติ เนื่องจากเฉพาะบริเวณกลางจอประสาทตาเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ
ภาวะจุดกลางรับภาพเสื่อมจำเป็นต้องรับการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญ หากคุณไม่พอใจกับผลการทดสอบ โปรดไปพบจักษุแพทย์
ลานสายตาหรือขอบเขตการมองเห็น คือภาพที่เรามองเห็นเมื่อมองตรงไปข้างหน้าโดยที่ศีรษะตั้งตรง
โดยครอบคลุมทุกสิ่งที่ปรากฏบนจอประสาทตา ซึ่งรวมถึงสภาพแวดล้อมที่รับรู้ได้ แม้จะไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ไม่ว่าจะมองเห็นสิ่งต่างๆ ได้คมชัดเพียงใดก็ตาม
ทดสอบลานสายตาปรับการมองหน้าจอให้ชัดยิ่งขึ้น
ด้วยขั้นตอนง่ายๆ 2-3 อย่างและแว่นตาชนิดพิเศษสำหรับคอมพิวเตอร์หรือแว่นตาเนียร์คอมฟอร์ท ช่วยให้คุณทำงานบนหน้าจอได้อย่างสบายตายิ่งขึ้น ทั้งนี้การตั้งค่าหน้าจอที่ใช้ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยด้วยเช่นกัน
ปรับการมองหน้าจอให้ชัดยิ่งขึ้นพยายามมองตัวเลขหรือตัวอักษรจากภาพ
เลือกคำตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้!
- ฉันเห็นเลข 8
- ฉันเห็นเลข 12
- ฉันเห็นเป็นอย่างอื่น
หากสามารถมองเห็นเพียงเลข 8 จากภาพด้านบน แสดงว่าคุณอาจมีภาวะตาบอดสีแดงเขียว ขอแนะนำให้ทำการทดสอบกับศูนย์แว่นตาหรือจักษุแพทย์อย่างละเอียด!
หากสามารถมองเห็นเพียงเลข 12 จากภาพด้านบน แสดงว่าคุณอาจมีภาวะตาบอดสีฟ้าเหลือง ขอแนะนำให้ทำการทดสอบกับศูนย์แว่นตาหรือจักษุแพทย์อย่างละเอียด!
หากสามารถมองเห็นเลข 182 จากภาพด้านบน แสดงว่าการรับรู้สีของคุณเป็นปกติ ทำแบบทดสอบซ้ำเป็นประจำเพื่อตรวจสอบการรับรู้สีของคุณ
พยายามมองตัวเลขหรือตัวอักษรจากภาพ
เลือกคำตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้!
- ฉันเห็นเลข 3
- ฉันเห็นเป็นอย่างอื่น
หากคุณสามารถมองเห็นเลข 3 จากภาพด้านบน ถือว่าการรับรู้สีของคุณเป็นปกติ ทำแบบทดสอบซ้ำเป็นประจำเพื่อตรวจสอบการรับรู้สีของคุณ
หากไม่สามารถมองเห็นเลขใดเลยจากภาพด้านบน แสดงว่าคุณอาจมีภาวะตาบอดสีแดงเขียว ขอแนะนำให้ทำการทดสอบกับศูนย์แว่นตาหรือจักษุแพทย์อย่างละเอียด!
พยายามมองตัวเลขหรือตัวอักษรจากภาพ
เลือกคำตอบจากตัวเลือกต่อไปนี้!
- ฉันเห็นตัว C และ H
- ฉันเห็นเลข 31 เท่านั้น
หากสามารถมองเห็นตัวอักษร C และ H จากภาพด้านบน แสดงว่าการรับรู้สีของคุณเป็นปกติ ทำแบบทดสอบซ้ำเป็นประจำเพื่อตรวจสอบการรับรู้สีของคุณ
หากสามารถมองเห็นเพียงเลข 31 จากภาพด้านบน แสดงว่าคุณอาจมีภาวะตาบอดสีแดงเขียว ขอแนะนำให้ทำการทดสอบกับศูนย์แว่นตาหรือจักษุแพทย์อย่างละเอียด!
ทดสอบการทำงานของจอประสาทตา
แบบทดสอบ "Amsler" ช่วยเผยให้เห็นถึงโรคจอประสาทตาที่เป็นอันตราย ทดสอบการทำงานของจอประสาทตากันเลย!
- มองภาพจากระยะ 30 ซม. สำหรับผู้ที่ต้องสวมแว่นอ่านหนังสือ สามารถสวมได้ตามปกติ ทำการทดสอบดวงตาทั้งสองข้างพร้อมกันก่อน แล้วจึงทดสอบตาขวาและตาซ้ายทีละข้าง
- ตอบคำถามต่อไปนี้:
คุณมองเห็นสี่เหลี่ยมสีดำขนาดเล็กกลางเส้นตารางหรือไม่
จ้องไปที่สี่เหลี่ยมนั้น คุณยังเห็นเส้นตารางทั้งหมดอยู่หรือไม่
เส้นทั้งหมดในตารางขนานกันและเป็นสีดำใช่หรือไม่
-
หากคำตอบของคุณคือ "ไม่" แม้เพียงข้อใดข้อหนึ่ง ควรพบจักษุแพทย์เพื่อรับการตรวจดวงตาโดยด่วน เนื่องจากอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับจอประสาทตา สิ่งสำคัญ: หมั่นทำการทดสอบนี้ซ้ำเป็นระยะ!
ทดสอบลานสายตา(ความกว้างในการมองเห็น)
ทุกคนย่อมต้องหันไปมองเมื่อสังเกตเห็นการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วที่บริเวณหางตา ปฏิกิริยาดังกล่าวช่วยให้เราตอบสนองต่ออันตรายได้อย่างทันท่วงที มาทดสอบลานสายตาของคุณกันเลย!
- สิ่งสำคัญ: ห้ามสวมแว่นตาในการทดสอบ! ถือปากกาในมือขวาค้างไว้ตรงหน้าโดยเหยียดแขนออก
- ใช้มืออีกข้างปิดตาซ้าย มองตรงไปข้างหน้าค้างไว้ แล้วใช้แขนข้างที่เหยียดออกค่อยๆ เลื่อนปากกาไปทางขวา โดยให้แขนเหยียดตรงตลอด
- หยุดตรงจุดที่คุณมองไม่เห็นปากกา หากคุณมีลานสายตาเป็นปกติ แขนของคุณควรทำมุม 90 องศาจากจุดเริ่มต้น
- ทำการเคลื่อนไหวแบบเดียวกันกับร่างกายอีกข้างหนึ่งจนกระทั่งคุณมองไม่เห็นปากกา มุมที่ได้ควรแคบลงเล็กน้อย กล่าวคือประมาณ 60 องศา เนื่องจากมีจมูกเป็นตัวจำกัดลานสายตาในด้านดังกล่าว
-
หากคุณรู้สึกว่าไม่สามารถมองเห็นได้ถึงมุมที่ระบุ ควรพบจักษุแพทย์
ปรับการมองหน้าจอให้ชัดยิ่งขึ้น
ปรับหน้าจอของคุณเพื่อวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและสบายตาทั้งขณะทำงานและขณะใช้เวลาว่าง!
- มองเห็นแถบสีที่มีโทนสีเทาแยกจากกันชัดเจนทั้ง 9 แถบหรือไม่ แถบซ้ายสุดควรเป็นสีดำสนิท ส่วนแถบขวาสุดควรเป็นสีขาวล้วน
- ถ้าไม่เช่นนั้น ให้ปรับความสว่างและความคมชัดจนได้ผลตามที่ควรเป็น
-
• ใช้เวลาในการจัดสภาพการทำงานให้เหมาะสมกับสรีระ เช่น ปรับความสูงของที่นั่ง ตำแหน่งหน้าจอ เป็นต้น
• กะพริบตาบ่อยๆ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการตาแห้ง
• ปรับขนาดตัวอักษรบนหน้าจอเพื่อให้อ่านสิ่งต่างๆ ได้อย่างสบายตา
• มองที่อื่นบ้างเป็นครั้งคราวหรือพักสายตาเป็นระยะ เพื่อให้กล้ามเนื้อตาผ่อนคลาย
• วางหน้าจอให้อยู่ห่างจากดวงตาของคุณเป็นระยะประมาณ 50 ซม.
และคุณจะได้รับอีเมลยืนยันข้อมูลที่ส่งให้กับศูนย์แว่นตาดังกล่าวในเร็วๆ นี้ จากนั้นทางศูนย์แว่นตาจะทำการติดต่อเพื่อนัดหมายกับคุณโดยตรง
กลับไปที่หน้าหลักโปรดลองใหม่อีกครั้ง